เอื้องสายล่องแล่ง / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบและตั้งชื่อครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในสกุล Limodorum และมีการเปลี่ยนสกุลหลายครั้ง จนครั้งล่าสุดถูกเปลี่ยนเป็นสกุล Dendrobium โดย Charles Samuel Pollock Parish (1822-1897) นักพฤกษศาสตร์ชาวแองโกล-อินเดีย ตีพิมพ์ที่ Hortus Bengalensis, or a Catalogue of the Plants Growing in the Hounourable East India Company's Botanical Garden at Calcutta ในปี 1928 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นทรงกระบอก ยาว 39-60 เซนติเมตร มีข้อปล้อง แต่ละปล้องยาว 2-3 เซนติเมตร มีเยื่อบางสีน้ำตาลหุ้ม เมื่อออกดอกจะผลัดใบ ใบ รูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลม ช่อดอกสั้น ออกที่ข้อของหัวเทียม ก้านช่อดอกยาว 3-5 มิลลิเมตร มี 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงสีขาวแกมม่วง กลีบดอกสีขาวแกมหลืองนวล เส้นกลีบสีม่วง กลีบเลี้ยงด้านบนรูปใบหอกแกมรูปรี กว้าง 7.5-8 มิลลิเมตร ยาว 2.2-3.5 เซนติเมตร ปลายแหลม กลีบเลี้ยงด้านข้างรูปใบหอก กว้าง 6-9 มิลลิเมตร ยาว 2.65-3.7 เซนติเมตร หลายแหลม โคนกลีบเชื่อมกันเป็นคางรูปกรวย ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปรี กว้าง 1.3-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.6-3.3 เซนติเมตร ปลายแหลม กลีบปากรูปรีกึ่งกลม กว้าง 2.65-3 เซนติเมตร ยาว 2.6-3.2 เซนติเมตร โคนกลีบโอบรอบเส้าเกสร ลักษณะคล้ายหลอด ด้านบนกลีบปากมีกลุ่มแคลลัสที่บริเวณโคนกลีบ ผิวกลีบมีขนครุย แนวกลางกลีบปากมีสัน 3 สัน คางเส้าเกสร ยาว 5-6 มิลลิเมตร เส้าเกสร ยาว 2-5.5 มิลลิเมตร ฝาปิดกลุ่มเรณูรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3.5 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายเว้าตื้น กลุ่มเรณูแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดะ 2 กลุ่ม ทรงรูปรี ยาว 2-2.3 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ก้านดอกและรังไข่สีขาว ยาว 2.5-3 เซนติเมตร การกระจายพันธุ์: จีน, อินเดีย, เนปาล, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเเซีย และไทย นิเวศวิทยา: พบในป่าดิบแล้ง ที่ความสูง 844 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนเมษายน ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] กรกช ดวงดี. 2554. ความหลากหลายของกล้วยไม้ตามเส้นทางขึ้นยอดภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrobium aphyllum (Roxb.) C.E.C.Fisch.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง